วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประเภทของหนังสือ ( วารสาร )

                                              

1. วารสารวิชาการ 


เป็นวารสารที่เน้นการนำเสนอบทความทางวิชาการและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ วารสารประเภทนี้ ได้แก่ วารสารที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการศึกษา เช่น รัฐสภาสาร ราชกิจจานุเบกษา วารสารธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทรรศน์และสุทธิปริทัศน์ วารสารที่ออกโดยหน่วยงานทางธุรกิจ เช่น ความรู้คือประทีป วารสารนักบัญชี วารสารกฎหมาย วารสารธุรกิจการท่องเที่ยว วารสารการเงินธนาคาร วารสารด้านคอมพิวเตอร์

2. วารสารวิจารณ์หรือปริทัศน์ 

เป็นวารสารที่เน้นการนำเสนอบทความเชิงวิจารณ์ วิเคราะห์ หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องของการเมือง การปกครองวรรณกรรม ศิลปะ กีฬา ดนตรี ฯลฯ วารสารประเภทนี้ เช่น วารสารสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ วารสารมติชนสุดสัปดาห์ วารสารเนชั่นสุดสัปดาห์ วารสารอาทิตย์วิเคราะห์ ฯลฯ

3. วารสารบันเทิงหรือนิตยสาร 

เป็นวารสารที่เน้นการนำเสนอเรื่องราวทางด้านบันเทิงโดยอาจจะแทรกเรื่องราวทางวิชาการ เกร็ดความรู้ อาจแบ่งเป็นนิตสารสำหรับผู้อ่านทั่วไปหรือผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม เช่น นิตยสารสำหรับสตรี บุรุษ หรือสำหรับเด็กและครอบครัว นิตยสารรถ นิตยสารการตกแต่งบ้าน นิตยสารการท่องเที่ยวนิตยสารวงการบันเทิงภาพยนตร์และโทรทัศน์ อาจมีนวนิยายเรื่องสั้นหรือเรื่องแปลสอดแทรกอยู่ภายในเล่มก็ได้

4. วารสารทั่วไป 

คือ วารสารที่เสนอเรื่องทั่วไป ไม่เน้นหนักด้านใดด้านหนึ่ง มุ่งให้คนทั่วไปอ่านได้ มักเรียกว่านิตยสาร วารสารประเภทนี้มุ่งที่จะให้ความบันเทิงเป็นหลัก ดังนั้นเรื่องที่ตีพิมพ์ส่วนใหญ่จึงเป็นนวนิยายแต่ก็มีคอลัมน์ที่ให้ความรู้ บทความเบ็ดเตล็ด สรุปข่าวความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่าง ๆไว้ด้วย ตัวอย่างวารสารประเภทนี้ ได้แก่ สกุลไทย ขวัญเรือน แพรวและดิฉัน เป็นต้น

5. วารสารวิชาการหรือวารสารเฉพาะวิชา


 เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความทางวิชาการในสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้เขียนและผู้อ่านประจำเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการนั้นหรือมีความสนใจในสาขาวิชานั้น ตัวอย่างวารสารประเภทนี้ ได้แก่ วารสารการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา ข่าวสารการธรณีและวารสารสร้างเสริมสุขภาพ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนกรมส่งเสริมสุขภาพนอกจากนี้ยังอาจพบวารสารบางชื่อซึ่งมีจำวนหน้าน้อยกว่าวารสารส่วนใหญ่ มีลักษณะคล้ายจดหมายข่าว (newsletter) มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในวงวิชาการเฉพาะวิชา ใช้ชื่อว่า “จุลสาร” ได้ ดังตัวอย่างของ จุลสารประชาคมประกันคุณภาพการศึกษาของ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
แหล่งที่มา: http://thamonwantou.blogspot.com/2013/12/1.html

ประเภทของหนังสือพิมพ์

 เป็นการแบ่งตามภาระหน้าที่หลักที่แสดงออกมาทางเนื้อหา แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นคุณภาพ (Quality Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่มุ่งเสนอเนื้อหาที่ประชาชนจำเป็นจะต้องรู้ โดยตระหนักถึง ความรับผิดชอบที่มีต่อส่วนรวม
และประเทศชาติ ได้แก่เนื้อหาที่เป็นปัญหาสาธารณะทางสังคม การเมือง การเลือกตั้งทั้งในและต่างประเทศ ปัญหาทางธุรกิจและเศรษฐกิจการคลัง เป็นต้น ข่าว ประเภทนี้มักจะมีการตอบสนองช้าหนังสือพิมพ์ประเภทนี้
จะนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นข่าว โดยบอกเล่าถึงภูมิหลัง ของข่าว และชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจจะเกิด
ขึ้นกับข่าวนั้น ๆ ให้ประชาชนได้รับทราบ รวมไปถึงมีการเสนอความคิดเห็นในประเด็นของข่าวด้วย และจะเป็น
ผู้นำในการสร้างสรรค์ประชามติ
ตัวอย่างหนังสือพิมพ์ประเภทคุณภาพ ได้แก่ มติชน ไทยโพสต์ เดอะ เนชั่น บางกอกโพสต์
สยามรัฐ แนวหน้า กรุงเทพธุรกิจ ฯลฯ
2. หนังสือพิมพ์ประเภทประชานิยม (Popular Newspaper) หมายถึง หนังสือพิมพ์ที่มุ่งเสนอเนื้อหาที่คนทั่วไปสนใจ ใคร่รู้ รวมไปถึงให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน ได้แก่ เนื้อหาเกี่ยวกับ
อาชญากรรม อุบัติเหตุ วิบัติภัย ความหายนะ กีฬา ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในสังคม เป็นต้นซึ่งข่าวประเภทนี้
มักจะมีการตอบสนองแบบทันทีทันใดหนังสือพิมพ์ประเภทนี้จะรายงานข่าวตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมากกว่า
จะเผยแพร่ความคิดเห็นนอกจากนี้ยังเน้นการรายงานข่าวที่รวดเร็ว สด ทันต่อเหตุการณ์ ทันอกทันใจผู้อ่าน
ตัวอย่างหนังสือพิมพ์ประเภทคุณภาพ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด คมชัดลึก พิมพ์ไทย ฯลฯ
แหล่งที่มา: http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1203_222/web/Pang02/L02_02.htm

ประวัติหนังสือพิมพ์ไทย




















หนังสือพิมพ์
                ประวัติและพัฒนาการของสื่อสารมวลชนไทยในส่วนนี้ จะแบ่งตามประเภทของสื่อ 
ประเภทได้แก่ หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสีย วิทยุโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละสื่อจะครอบคลุมถึงประวีติและพัฒนาการในด้านเทคโนโลยี เนื้อหาสาระ และกิจการ ของสื่อประเภทดังกล่าว
หนังสือพิมพ์
                วิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยเติบโตไปตามภาวะความเปลี่ยนแปลงชองสภาพสังคมประกอบกับหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานปรัชญาของการต่อสู้ทางอุดมการณ์หนังสือพิมพ์เป็นเสมือนกลไกหรือเครื่องมือสำคัญ ที่มีส่วนผลักดันเปลี่ยนแปลงสภาพการเมืองการปกครองและสังคมของไทยเสอมมาการศึกษาวิวัฒนาการของหนังสือพิมพ์ไทยในแต่ละยุค จึงจะเป็นต้องพิจารฯบริบทต่างๆที่แวดล้อมหนังสือพิมพ์ในแต่ละยุคควบคู่ไปด้วย บริบทเหล่านี้ได้แก่ บริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม-วัฒนธรรม และอุดมการณ์ความคิดทางวิชาชีพหนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์จัดเป็นสื่อที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับสื่อมวลชนประเภทอื่นหนังสือพิมพ์ในไทยเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีการนำตัวพิมพ์และแท่นพิมพ์เข้ามาในเมืองไทย ตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราชและพัฒนาเรื่อยมาเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ การสำเสนอประวัติและพัฒนาการหนังสือพิมพ์ไทย จะแบ่งออกเป็น ยุด โดยในช่วงแรกเป็นยุคที่อยู่ในระบบการปกครองแบบสมบูรฯญาสิทธิราชย์ (ยุค 1-4) และในช่วงหนังเป็นยุคการปกครองในระบอบรัฐสภาภายใต้รัฐธรรมนูญตั้งแต่ พ.ศ. 475 เป็นต้นมา
ยุคหนังสือพิมพ์ฝรั่ง
                
เริ่มตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ถึงกลางสมัยรัชกาลที่ เป็นสมัยที่คณะมิชชันนารีฝรั่งริเริ่มอ่านหนังสือพิมพ์โดยมีหมอบรัดเลย์เป็นผู้บุกเบิก ก่อนหน้าที่หมอบรัดเลย์จะออกหนังสือพิมพ์ได้รับพิมพ์ประกาศของทางราชการ จนกระทั้งหมอบรัดเลย์เห็นว่ามีความพร้อม จึงออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในวันที่ กรกฎาคม พ.ศ. 2387 ชื่อหนังสือพิมพ์ บางกอกรีคอร์เดอร์ ซึ่งคนไทยพากันเรียนกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น เพราะลงตีพิมพ์ข่าวและประกาศต่างๆจัดได้ว่าเป็นหนังสือพิมพ์ข่าวรายปักษ์เล่มแรกของประเทศไทย อย่างไรก็ตามบางกอกรีคอร์เดอร์มีอายุอยู่เพียง ปี ก็ต้องปิดกิจการเพราะขาดทุน เนื่องจากคนไทยยังไม่รู้จักหนังสือพิมพ์ และขุนนางไทยสมัยนั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2407 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์ใหม่เป็นครั้งที่สองเป็นฉบับโดยใช้ชื่อว่าบางกอกรีคอร์เดอร์เช่นเดิม
                ถึงแม้ว่าบางกอกรีคอร์เดอร์เป็นเครื่องมือที่เติมความรู้ให้แก่ชนชั้นสูงเสียมากกว่ามวลชนแต้เร่าต้องของการต่อต้านความอยุติธรรม การรายงานเหตุการณ์ต่างๆให้ทราบถึงพระเนตรเนื่องจากหมอบรัดเลย์ได้กล้าเสนอในสิ่งที่คนไทยสมัยนั้นไม่เสนอจึงหมิ่นเหม่ต่อคดีอาญารับกาลที่ 4 ได้ออกประกาศไม่ให้เชื่อหนังสือพิมพ์ เพราะเห็นว่าบางครั้งหนังสือพิมพ์ของฝรั่งก็เกินจริงเป็นเครื่องมือใส่ร้ายป้ายสีคนอื่นในที่สุดหมอบรัดเลย์ก็ต้องเลิกออกหนังสือพิมพ์จากการพิมพ์เนื่องจากแพ้คดีความที่ถูกทูตชาวฝรั่งเศสฟ้องร้องทำให้กิจการขาดทุนจึงเลิกกิจการทั้งหมดนอกจากหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์เดอร์แล้วยังมีหนังสือพิมพ์ที่ออกมาในช่วงนี้แต่ไม่มีความสำคัญมากนักหนังสือพิมพ์เหล่านี้ได้แก่ บางกอกคาร์เลนดาร์ ของหมอจันทเล บางกอกเดลี ของหมอสมิธผยุคหนังสือพิมพ์ราชสำนัก
                การทำหนังสือพิมพ์ในราชสำนักเริ่มขึ้นในช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงปลายรัชกาลที่ กลุ่มหนึ่งที่มีการศึกษาจากต่างประเทศมีความเห็นว่าถ้าให้ฝรั่งออกหนังสือพิมพ์แต่ฝ่ายเดียวย่อมเป็นภัย จึงได้ออกหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ในปี พ.ศ. 2401 มีกำหนดออกเป็นครั้งคราวมีประสงค์เพื่อแจ้งประกาศของราชการ กฎหมายข้อบังคับ แจ้งความเตือนสติ และชี้แจงข่าวคลาดที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ นับได้วาเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่ออกโดยคนไทยราชกิจจานุเบกษาที่ออกในปลายสมัยรัชการที่ 4 ออกได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป และมาออกอีกครั้งหนึ่งในรัชการที่ ในปี พ.ศ. 2517 ในปีพ.ศ. 2418 ได้มีการออกหนังสือ ค็อต ข่าวราชการ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันมีจำนวนหน้า หน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข่าวราชการ และข่าวความเคลื่อนไหวในราชสำนักรายงานข่าวกำหนดการต่างๆที่ควรจะบอกล่วงหน้า บุคคลในข่าวมักเป็นพระบรมวงศานุวศ์และข้าราชการเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีหนังสือวชิรญาณและ วชิรญาณวิเศษ ในปี พ.ศ. 2427 เป็นหนังสือพิมพ์รายเดือน เน้นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และเรื่องอ่านเล่น
                เนื่องจากการพิมพ์หนังสืออยู่ในอิทธิพลของราชสำนักและจัดทำโดยเจ้านาย เนื้อหาส่วนใหญ่ของหนังสือพิมพ์ในยุคนี้จึงเป็นเรื่องทางราชการ และอ่านกันเฉพาะในหมู่คนจำนวนน้อย ไม่หวังผลทางการค้าเพราะอยู่ได้ด้วยการนสนับสนุนจาราชสำนัก
ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อจากราชสำนักสู่สามัญชน
                ช่วงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสามัญชนออกหนังสือพิมพ์ เช่น ก.ศ.ร.กุหลาบ และเทียนวรรณ ก.ศ.ร.กุหลาบ เป็นสามัญชนธรรมดาที่ไม่มียศ ไม่ศักดิ์ได้ออกหนังสือพมิพ์ชื่อ สยามประเภทสุนทโรวาทพิเศษ ในปี พ.ศ .2440 แม้ว่าหนังสือพิมพ์ของสามัยชนต้องแข่งขันกับหนังสือพิมพ์ของเจ้านาย และเสี่ยงต่อการขาดทุนเพราะโฆษฯยังไม่แพร่หลาย แต่กลับได้รับความนิยมจากคนอื่นมาก


แหล่งที่มา https://www.l3nr.org/posts/199024

ประโยชน์ของการ์ตูนกับพัฒนาการของเด็ก ที่คุณอาจไม่เคยรู้

 การ์ตูนอนิเมะ

     สิ่งที่มักจะเวียนว่ายอยู่ในชีวิตวัยเด็กของใครหลายๆ คน ก็คงหนีไม่พ้นพวกหนังสือการ์ตูนและอนิเมะต่าหลายเรื่องที่ให้ความบันเทิง และก็มีหลายต่อหลายคนที่โดนคุณพ่อคุณแม่บอกให้ไปอ่านหนังสืออย่างอื่นที่มี ประโยชน์ดีกว่า ไม่ก็โดนห้ามไม่ให้อ่านการ์ตูนหรือดูอนิเมะเสียเลยเพราะคิดมันไม่มี ประโยชน์อะไรเลยสำหรับลูกของเขา ซึ่งก็คิดจากความน่าจะเป็นบ้างหรือมีเหตุผลสนับสนุนก็ตาม แต่จริงๆ 
แล้วสิ่งพวกนี้ถือว่ามีประโยชน์ในการพัฒนาและสร้างการเรียนรู้ที่ดีให้กับ เด็กๆ มาก ล่าสุดที่ประเทศญี่ปุ่นก็ได้มีศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัย Tama ที่มีชื่อว่า Yuichi Higuchi ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในด้านนี้ผ่านทางบทความสั้นๆ


    ศาสตราจารย์ Higuchi กล่าวว่าการที่เด็กนั้นอ่านการ์ตูนและก็อ่านซํ้าไปซํ้ามานั้นถือว่าเป็นสิ่ง ที่ดีในการที่จะเรียนรู้ในด้านของทักษะด้านภาษา ด้วยความที่เขาอยากจะเข้าใจเนื้อเรื่อง ทำให้เขาพยายามเรียนรู้และเข้าใจถึงความหมายอันลึกซึ้งของคำและประโยคซึ่ง อยู่ในการ์ตูน โดยการเปรียบเทียบกับภาพวาดที่ประกอบคำพูดซึ่งถ้าเป็นหนังสือที่มีแต่ตัวหนังสือล้วนๆ จะทำให้เข้าใจความหมายของคำและประโยคอย่างกระจ่างได้ยาและการอ่านซํ้าไปซํ้ามาเนื่องจากเป็นเรื่องที่เขาชอบนี่แหละ ก็จะทำให้เขาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้น ยิ่งอ่านก็จะยิ่งเข้าใจเรื่องราวมากยิ่งขึ้นทีละเล็กทีละน้อย และตีความหมายหลายๆ อย่างได้แตกฉานมากขึ้น ด้วยความที่เป็นสิ่งที่เขาชอบก็จะทำให้สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ไว (ยิ่งเป็นการ์ตูนสมัยใหม่ที่มีเรื่องราวซับซ้อน ก็จะทำให้เด็กเกิดการคิดวิเคราห์หาเหตุผลมาซัพพอร์ตในสิ่งที่เขาไม่เข้าใจ ด้วย)
แหล่งที่มา:http://game.sanook.com/951893/

ประเภทของหนังสือต่างๆ

 หนังสือพิมพ์ (newspaper)เป็นหนังสือที่มีวัตถุประสงค์หลักในการให้ข่าวสารปัจจุบันแก่ผู้อ่าน  ส่วนนิตยสารนั้นมุ่งที่จะให้ความรู้ความบันเทิงเป็นสิ่งสำคัญ  การที่วัตถุประสงค์ในการจัดทำแตกต่างกัน   ลักษณะการใช้งานของหนังสือและลักษณะรูปร่างของหนังสือจึงย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย  จะเห็นว่าหนังสือพิมพ์นั้นพิมพ์บนกระดาษแผ่นใหญ่เรียงซ้อนกัน  พับเป็นเล่มโดยไม่เย็บเล่มและไม่มีปก  ส่วนนิตยสารนั้นมักมีปกที่พิมพ์สีสันสวยงาม  เย็บเป็นเล่มและเจียนเล่มเรียบร้อย ขนาดของเล่มเล็กกว่าหนังสือพิมพ์  การที่หนังสือประเภทใดจะมีรูปเล่มและขนาดอย่างใดย่อมแล้วแต่ลักษณะและวัตถุประสงค์การใช้งานของหนังสือเล่มนั้นๆ เป็นสำคัญ  รูปเล่มและขนาดเล่มจะเป็นตัวกำหนดเครื่องจักรเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต   ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตด้วย จึงเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงเชื่อมโยงกันไปทั้งสิ้น

 นิตยสาร (magazine)  สำหรับนิตยสารนั้น  ผู้ซื้อจะมีความพิถีพิถันมากกว่าซื้อหนังสือพิมพ์  นิตยสารจึงมีปกที่พิมพ์ภาพสวยงาม อายุการใช้งานมีระยะเวลานานกว่าหนังสือพิมพ์ซึ่งจะมีอายุอย่างน้อยเท่ากับระยะเวลาออกนิตยสารนั้นๆ  นิตยสารจึงยังคงคุณค่านานกว่าหนังสือพิมพ์ แม้เมื่อพ้นเวลาใช้งานแล้วก็ยังพอมีราคาอยู่บ้าง
 หนังสือเล่ม (book)  เป็นประเภทใหญ่ของหนังสืออีกประเภทหนึ่ง  อาจแบ่งออกเป็นประเภทย่อยได้หลายวิธี  คือแบ่งตามลักษณะของผู้อ่าน เช่น หนังสือเด็ก  หนังสือผู้ใหญ่หรือแบ่งตามเนื้อหาสาระ เช่น หนังสือสารคดีหนังสือบันเทิงคดี  ซึ่งแต่ละประเภทแบ่งย่อยออกไปได้อีก  เช่น สารคดี อาจแบ่งเป็นแบบเรียนในระดับการศึกษาต่างๆ  คู่มือครู แบบฝึกหัดตำราทางวิชาการ  หนังสืออ้างอิง  บันเทิงคดีก็แบ่งเป็น  นวนิยาย  กวีนิพนธ์  หนังสือเด็กก็อาจแยกออกเป็น  หนังสือภาพ  หนังสือการ์ตูนนิยาย  หนังสือแต่ละประเภทก็มีลักษณะรูปเล่มเฉพาะที่เหมาะกับลักษณะการใช้งานของหนังสือประเภทนั้นๆ  การผลิตหนังสือแต่ละประเภทจึงมีวิธีการและอุปกรณ์ที่เหมาะสมแก่การผลิตหนังสือประเภทนั้นๆ ซึ่งก็ย่อมแตกต่างกันออกไปแต่ละประเภท
 หนังสืออ้างอิง  เป็นหนังสือที่มีลักษณะพิเศษอีกแบบหนึ่งที่ผู้อ่านจะเลือกอ่านค้นคว้าเอาเฉพาะเรื่องที่ต้องการ  เช่น หนังสือพจนานุกรมจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง  ผู้ซื้อจะค้นดูศัพท์เฉพาะคำที่ต้องการทราบความหมายโดยจะเปิดดูหน้าและตำแหน่งตรงที่มีศัพท์ที่ต้องการจะค้น  แล้วอ่านดูว่ามีคำแปลว่าอย่างใด  เข้าใจแล้วก็ปิดเล่ม  หนังสือเล่มหนึ่งๆ ได้อ่านจริงๆ ไม่กี่บรรทัดไม่กี่หน้า  หากเป็นพจนานุกรมฉบับกระเป๋าก็จะต้องผลิตให้มีขนาดเล็กสามารถพกติดตัวไปได้สะดวก  สามารถค้นดูศัพท์ได้ทุกเวลาที่ต้องการ  ขนาดของเล่มหนังสือจะเป็นสิ่งกำหนดตัวพิมพ์   ความหนาของแผ่นกระดาษและชนิดของกระดาษที่จะพิมพ์  เพื่อให้หนังสือมีขนาดพอเหมาะที่จะบรรจุศัพท์ต่างๆ ลงในเล่มให้ครอบคลุมได้กว้างขวางตามที่ต้องการ  และให้ได้ขนาดกว้างยาวและหนาพอที่จะพกในกระเป๋าเสื้อของผู้อ่านได้
แหล่งที่มา:http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=16&chap=6&page=t16-6-infodetail02.html

ประโยชน์และโทษของการ์ตูน

ประโยชน์ของการ์ตูน

   พ่อแม่และผู้ปกครองหลายคนคงไม่ให้ลูกหลานได้ดูการ์ตูน เพราะคิดว่าการ์ตูนเป็นสิ่งที่ไร้สาระและไม่มีประโยชน์ แต่การ์ตูนหลายๆเรื่องก็ได้สอดแทรกแนวคิดคติสอดใจให้แก่ผู้ชม เรามาดูกันดีกว่าว่าการ์ตูนนั่นมีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง
1. เป็นสื่อสำหรับใช้ในการเรียนการสอน เนื่องจากการ์ตูนสามารถช่วยเร้าความสนใจและดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจในกิจกรรมการเรียนนั้น ช่วยให้ผู้เรียนไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน และเกิดการเรียนรู้ได้ดีเพราะมีภาพประกอบ ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรมที่น่าสนใจ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถจดจำในเนื้อหาบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น และมีความต้องการที่จะศึกษาเพิ่มขึ้น
2. ช่วยทำให้เกิดความคิด จินตนาการที่ดีและเกิดความคิดสร้างสรรค์
3. ช่วยเร้าความสนใจให้ติดตามและเกิดการเรียนรู้ที่ดี
4. ช่วยส่งเสริมให้เกิดนิสัยรักการอ่านหนังสือ ทั้งเด็กและบุคคลทั่วไป ซึ่งก่อให้เกิดความรู้ในด้านอื่นๆ
ต่อไป 
5. ช่วยผ่อนคลายอารมณ์เครียด ช่วยให้เกิดความสนุกสนาน
(ที่มา:http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1203_222/web/L02_09.htm)

โทษของการ์ตูน

                            

1.มีภาพการทะเลาะวิวาท รุนแรง
2.มีภาพอนาจาร
3.ใช้คำที่ไม่สุภาพ
4.อ่านแล้วจะติด ไม่ทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์มากกว่า
5.อาจทำให้เสียการเรียน
6.อ่านมากๆจะทำให้สายตาเสีย
7.เด็กที่ไม่สามารถแยกแยะตัวการ์ตูนออกจากชีวิตจริงได้ จะนำไปทำในทางที่ผิด
(แหล่งที่มา:http://iam.hunsa.com/maprangp43/article/12548)